แรงเสียดทานคืออะไร เกี่ยวอะไรกับถนน ทำไมคนขับรถยนต์ควรรู้เรื่องนี้

แรงเสียดทานคืออะไร เกี่ยวอะไรกับถนน ทำไมคนขับรถยนต์ควรรู้เรื่องนี้

ความไวและความโฉบเฉี่ยวสำหรับผู้ที่ชื่นชอบการขับรถยนต์ เป็นหนึ่งในสิ่งที่เพิ่มความเร้าใจ ช่วยเปิดประสบการณ์ใหม่ ๆ ได้อย่างเหนือระดับ แต่เคยสงสัยกันไหมว่าแรงที่ใช้ในการขับเคลื่อนและทำงานของรถยนต์คืออะไร? แล้วแรงนั้นสำคัญอย่างไรบ้างต่อการเคลื่อนที่บ้าง? ในบทความนี้ เราจะมาไขคำตอบกันว่า แรงเสียดทาน” คืออะไร? เพื่อให้คนขับรถยนต์ใช้ประโยชน์จากแรงเสียดทานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

แรงเสียดทาน คืออะไร

แรงเสียดทาน (Friction) คือ แรงต้านการเคลื่อนที่บนผิวสัมผัสที่เกิดขึ้นระหว่างวัตถุ หรือแรงที่ต้านทานการเคลื่อนที่ของวัตถุไปบนพื้นผิวสัมผัส ซึ่งส่งผลให้วัตถุดังกล่าวเคลื่อนที่ช้าลงหรือหยุดนิ่งไปในท้ายที่สุด ดังนั้น แรงเสียดทานจึงมีทิศทางตรงกันข้ามกับการเคลื่อนที่ของวัตถุ และมีขนาดขึ้นอยู่กับลักษณะของพื้นผิวสัมผัส  และแรงหรือน้ำหนักที่กระทำในลักษณะตั้งฉากต่อพื้นผิวดังกล่าว หากแรงกดตั้งฉากกับผิวสัมผัสมีขนาดมากเท่าไหร่ก็ยิ่งส่งผลให้เกิดแรงเสียดทานมากขึ้นเท่านั้น

ประเภทของแรงเสียดทาน

แรงเสียดทานแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้

1. แรงเสียดทานชนิดแห้ง 

แรงเสียดทานชนิดแห้ง (Dry Friction) คือ แรงเสียดทานที่เกิดขึ้นจากการสัมผัสกันของวัตถุที่มีสถานะเป็นของแข็ง โดยแรงเสียดทานชนิดแห้งสามารถจำแนกออกเป็น 2 ชนิดย่อย ได้แก่

  • แรงเสียดทานสถิต  คือ แรงเสียดทานที่เกิดขึ้นในขณะที่วัตถุอยู่นิ่งจนถึงเริ่มต้นเคลื่อนที่  
  • แรงเสียดทานจลน์  คือ แรงเสียดทานขณะวัตถุกำลังเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงตัว  ซึ่งจะมีค่าน้อยกว่าแรงเสียดทานสถิต

2. แรงเสียดทานในของไหล 

แรงเสียดทานในของไหล (Fluid Friction) คือ แรงเสียดทานที่เกิดขึ้นจากการเคลื่อนที่ของวัตถุในของไหล (Fluid) หรือการเคลื่อนที่ของวัตถุในสสารที่มีสถานะเป็นของเหลวและก๊าซ เช่น ความต้านทานของอากาศที่กระทำต่อเครื่องบินหรือการต้านทานของน้ำที่กระทำต่อเรือ เป็นต้น

3. แรงเสียดทานจากการหมุน 

แรงเสียดทานจากการหมุน (Rolling Friction) คือ แรงเสียดทานที่เกิดขึ้นจากการเคลื่อนที่ของวัตถุทรงกลมหรือมีพื้นผิวกลมมนบนพื้นผิวสัมผัส ซึ่งการเคลื่อนที่ของล้อรถบนถนนเป็นแรงเสียดทานจากการหมุน

ปัจจัยที่มีผลต่อแรงเสียดทาน

หลังจากที่ทำความเข้าใจกันแล้วว่าแรงเสียดทานคืออะไร และมีกี่ประเภท เรามาดูกันดีกว่าว่ามีปัจจัยใดบ้างที่ส่งผลให้เกิดแรงเสียดทาน

  1. น้ำหนักหรือแรงกดของวัตถุที่กดลงบนพื้น ถ้าน้ำหนักหรือแรงกดของวัตถุมาก จะเกิดแรงเสียดทานมาก ถ้าน้ำหนักหรือแรงกดของวัตถุน้อยจะเกิดแรงเสียดทานน้อย
  2. ลักษณะของผิวสัมผัส ถ้าผิวสัมผัสหยาบ ขรุขระ จะเกิดแรงเสียดทานมาก ส่วนผิวสัมผัสเรียบลื่นจะเกิดแรงเสียดทานน้อย

ประโยชน์ของแรงเสียดทานในการขับขี่รถยนต์

แรงเสียดทาน คือ ตัวแปรสำคัญในการผลิตและสร้างสรรค์สิ่งของมากมาย โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์หรือยานพาหนะต่าง ๆ โดยมีประโยชน์ในการขับขี่ดังนี้

  1. แรงเสียดทานทำให้รถยนต์เคลื่อนที่ไปในทิศทางที่ต้องการได้ เช่น ในขณะที่รถแล่น ล้อกับถนนต้องมีแรงเสียดทาน ถ้าไม่มีแรงเสียดทานรถจะแล่นไม่ได้ ล้อรถจะหมุนอยู่กับที่ 
  2. แรงเสียดทานช่วยไม่ให้รถลื่นโดยเฉพาะเวลาฝนตก 
  3. ยานพาหนะแต่ละชนิด ต้องมีทั้งการลดแรงเสียดทานในอุปกรณ์บางส่วนและเพิ่มแรงเสียดทานในบางส่วน     เพื่อให้ยานพาหนะมีประสิทธิภาพและปลอดภัย เช่น รถ เรือ หรือเครื่องบิน ต้องให้หัวแหลมเพื่อลดความเสียดทานของอากาศหรือน้ำ

การเพิ่มแรงเสียดทาน เพิ่มความปลอดภัยในการขับขี่

  • ใช้ยางรถยนต์มีดอกยางเป็นลวดลาย มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มแรงเสียดทาน ระหว่างล้อกับถนน
  • การหยุดรถต้องเพิ่มแรงเสียดทานที่เบรก เพื่อหยุดหรือท าให้รถแล่นช้าลง

สรุป แรงเสียดทาน

แรงเสียดทาน คือ หนึ่งในกลไลที่ทำให้เกิด “แรงต้านทานการหมุนต่ำ” ซึ่งเป็นแรงต่อต้านของยาง ที่ทำให้ยางรถยนต์หมุนด้วยความเร็วที่กำหนด โดยยางรถยนต์ที่มีแรงต้านทานการหมุนต่ำถูกออกแบบมาให้สามารถลดแรงเสียดทาน หรือแรงต้านทาน ทำให้ใช้แรงเคลื่อนตัวการหมุนของล้อยางน้อยกว่ายางรถยนต์ทั่วไป และช่วยประหยัดน้ำมันได้นั่นเอง

หากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับยางรถยนต์ บริการเปลี่ยนยาง​ และบริการอื่น ๆ​ สามารถติดต่อผ่านทุกช่องทางการสื่อสารของเราได้​ตลอด​เวลา

ทุกเรื่องยางไว้ใจเราสาขาสุขุมวิท 91 : 02-331-9911

Line: @kc4418

พิกัด: https://maps.app.goo.gl/rghdgbMLHwgX2tHQA

สาขาอุดมสุข (K.Charoen Cockpit): 02-393-3356

Line: @kcockpit 

พิกัด: https://maps.app.goo.gl/8biZzcos5fKN26h98

โดยคุณสามารถอ่านรายละเอียดสินค้าและการบริการต่าง ๆ เพิ่มเติมได้ที่ ก.เจริญยางยนต์

0 Comments

ใส่ความเห็น


ให้คำปรึกษาโดยผู้เชี่ยวชาญ

เราพร้อมบริการและให้คำแนะนำคุณ
ด้วยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญกว่า 35 ปี

© 2009 - 2017 K.Charoenyangyont Co., Ltd. & Mink & Seen Co., Ltd.